หน่วยที่ 6 เทคนิคการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา

ตอนที่1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสืบสวนและสอบสวน

การสืบสวนและสอบสวนมีบทบาทสำคัญนอกจากมีส่วนอำนวยความยุติธรรมและรักษาความสงบเรียบร้อยแล้วยังมีความสำคัญต่อกิจการอื่นๆ อีกหลายด้าน ดังนั้น ผู้ทำหน้าที่สืบสวนและสอบสวนจึงต้องมีคุณลักษณะเป็นพิเศษในการปฏิบัติหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ร่วมทีมปฏิบัติภารกิจที่สำคัญและซับซ้อน

ความสำคัญของการสืบสวนและสอบสวน
การสืบสวนและสอบสวนคดีอาญามีบทบาทสำคัญมากเพราะเป็นด่านหรือประตูแรกในการอำนวยความยุติธรรม ฉะนั้น จึงมีความสำคัญต่อกิจกรรมด้านต่างๆ เช่น ความยุติธรรม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ

คุณลักษณะของผู้ทำการสืบสวนและสอบสวน
ผู้ทำหน้าที่สืบสวนและสอบสวนจะต้องมีการคัดเลือกเพื่อปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการเลือกบุคคลเข้ามาร่วมทำงานเป็นทีม จึงควรจะมีคุณลักษณะเป็นพิเศษบางประการเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน

คุณลักษณะของผู้ทำการสืบสวนและสอบสวนอย่างน้อยควรจะมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1. มีอำนาจทำการสืบสวนสอบสวนได้ตามกฎหมาย
2. มีความรอบรู้
3. มีความตั้งใจในการทำงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
4. มีความกล้าหาญกล้าเสี่ยง
5. มีปฎิภาณไหวพริบในการทำงาน
6. มีความซื่อสัตย์สุจริตในวิชาชีพ
7. มีความสังเกตและจดจำดี
8. มีความรอบคอบและละเอียดถี่ถ้วน
9. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
10. รักษาความลับ

ตอนที่2 เทคนิคการสืบสวน

การสืบสวนที่จะให้ได้ผลดีนั้น จะต้องอาศัยปัจจัยหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลข่าวสารต่างๆซึ่งมีวิธีดารแสวงหาหลายอย่าง เมื่อเกิดเหตุคดีอาญาขึ้นที่ใดแล้ว พนักงานสืบสวนจะต้องรีบไปยังสถานที่เกิดเหตุเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานในที่เกิดเหตุ หากต้องการทราบความเคลื่อนไหวของผู้ต้องสงสัยบางคนเพื่อให้แน่ใจว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ ในการที่จะอ้างเหตุออกหมายจับควรสืบสวนโดยวิธีเฝ้าตรวจ แต่ถ้าต้องการทราบตัวผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนพัวพันหรืออยู่เบื้องหลังการกระทำผิดกฎหมาย ควรสืบสวนโดยวิธีสายลับและเมื่อต้องการสืบหาตัวผู้ต้องสงสัยในการก่ออาชญากรรมโดยมีวิธีกระทำคล้ายกันว่าเป็นใครหรือสืบหาประวัติคนร้ายควรตรวจสอบประวัติจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร

ปัจจัยสำคัญในการสืบสวนและขอบเขตอำนาจหน้าที่
ปัจจัยสำคัญในการสืบสวน คือ ข่าวสารต่างไป การซักถามบุคคล การเห็นการฟังจากสื่อสารมวลชน การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ รวมทั้งปัจจัยอื่นได้ อนึ่งการสืบสวนในนั้นมีขอบเขตในการกระทำได้ตามที่กฎหมายกำหนด

ปัจจัยอื่นที่พนักงานสืบสวนควรสนใจเป็นพิเศษในเขตพื้นที่ของตนที่รับผิดชอบมีหลายประการ เช่น
1. สภาพภูมิประเทศ
2. สถานที่ซึ่งล่อแหลมในการก่อความไม่สงบ
3. ความพิรุธผิดปกติบางอย่างในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
การสืบสวนสถานที่เกิดเหตุ
การสืบสวนสถานที่เกิดเหตุเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานในบริเวณที่เกิดเหตุคดีอาญาแล้ว เพื่อหารายละเอียดในการทำความผิดและติดตามตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีอาญา ซึ่งมีเทคนิคดำเนินการหลายวิธี
เมื่อพนักงานสืบสวนสอบสวนได้ตรวจสถานที่เกิดเหตุเสร็จแล้ว จึงได้ทำแผนที่เกิดเหตุไว้ การที่เจ้าพนักงานทำแผนที่เกิดเหตุไว้ก็เพื่อ
1. แสดงภาพของสถานที่เกิดเหตุ
2. เชื่อมโยงกับภาพถ่ายในสถานที่เกิดเหตุ
3. เป็นเครื่องเตือนความทรงจำในการทำสำนวนสอบสวน
4. ทำให้เข้าใจง่ายขึ้นเมื่อนำคดีขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม

การเฝ้าตรวจ
การเฝ้าตรวจเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานในกรณีที่ต้องการทราบความเคลื่อนไหวสถานที่ติดต่อกับบุคคลและสิ่งของเพื่อให้แน่ใจวษาผู้นั้นกระทำความผิดและเป็นข้อมูลต่อการอ้างเหตุในการขอหมายจากศาล
การเฝ้าตรวจไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพเหตุการณ์ภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ปฏิภาณไหวพริบของพนักงานสืบสวนที่จะเลือกวิธีการต่างๆ ให้เหมาะสมและแนบเนียนที่สุด

สายลับ
สายลับเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดโดยผู้สืบสวนปลอมแปลงตนเพื่อล้วงข้อมูลและข่าวสารในการหาตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริงพร้อมทั้งหลักฐาน ซึ่งมีวิธีดำเนินการหลายประการ

ข้อพึงระวังของสายลับและทีมงาน คือ
1. ทำความเข้าใจและทราบวัตถุประสงค์และขอบเขตการทำงาน
2. รู้และเข้าใจสื่อและสัญญาณอย่างแม่นยำ
3. จดจ่อเอาใจใส่ต่อภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
4. กลั่นกรองและประเมินข้อมูลที่ได้มาอย่างรอบคอบ

การทะเบียนประวัติอาชญากร
การทะเบียนประวัติอาชญากรเป็นการหาประวัติของคนร้ายจากแฟ้มข้อมูลของอาชญากรรม ซึ่งได้เก็บรวบรวมไว้เพื่อคิดตามจับกุมผู้ต้องสงสัยว่ามีพฤติกรรมการกระทำคล้ายกัน กับทั้งสเกตซ์ภาพคนร้ายเพื่อออกหมายต่อไป

พนักงานสืบสวนมีความจำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับคนร้ายเพื่อประกอบในการสืบจับหรือทราบประวัติคนร้ายที่เคยก่อคดีมาแล้ว พนักงานสืบสวนควรประสานงานกับกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตอนที่3 การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม

การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่จะได้ผลดีนั้น ควรมีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การป้องกันอาชญากรรมควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน แม้แต่ประชาชนก็ควรมีส่วนร่วม เมื่อเกิดเหตุคดีอาญาแล้ว พนักงานสืบสวนและสอบสวนจะต้องสืบสวนหาร่องรอยหลักฐานต่างๆ ซึ่งมีทั้งกรณีที่จับกุมตัวได้แล้วและยังจับกุมตัวไม่ได้ จะต้องดำเนินการต่อไปโดยมีหลายวิธี

การวางแผนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่จะได้ผลดีนั้น ควรมีการวางแผนโดยศึกษาจากสภาพแห่งอาชญากรรม การสำรวจข้อมูลและวางเป้าหมายในการป้องกันและปราบปราม

การวางแผนป้องกันอาชญากรรมนั้น ควรพิจารณาถึงสภาพอาชญากรรมในพื้นที่ การสำรวจข้อมูลต่างที่เกี่ยวข้องและการวางเป้าหมายให้ตรงแก่สภาพแห่งอาชญากรรมและข้อมูล ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาประกอบการวางแผนดังกล่าว

การดำเนินการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
การดำเนินการป้องกันอาชญากรรมนั้นเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องร่วมมือกันปฏิบัติ คือส่วนที่เป็นหน้าที่ของตำรวจโดยตรง ส่วนที่เป็นหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน กับส่วนที่เป็นหน้าที่ของประชาชนโดยตรง

สายตรวจคือเจ้าพนักงานคนหนึ่งหรือหลายคนได้รับมอบหมายให้ตระเวนไปในที่ต่างๆตามที่กำหนดไว้เพื่อตรวจตราป้องกันและระงับเหตุร้ายอันเป็นส่วนหนึ่งในการปราบปรามอาชญากรรม

การสืบสวนหลังเกิดเหตุ
การสืบสวนหลังเกิดเหตุเป็นการสืบสวนเมื่อเกิดคดีอาญาขึ้นแล้ว ซึ่งมีทั้งกรณีที่จับตัวผู้ต้องหาได้และยังจับตัวไม่ได้ ผู้สืบสวนจะต้องสืบเจตนาและมูลเหตุจูงใจในการกระทำของคนร้าย เพื่อจับกุมปราบปราม การบันทึกการสืบสวนจะช่วยให้รายละเอียด และเตือนความทรงจำแก่พนักงานสืบสวนหรือผู้ที่จะทำการสืบสวนคนอื่นดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ถ้ายังจับกุมตัวยังไม่ได้ เมื่อจับกุมตัวผู้กระทำความผิดแล้ว พนักงานสืบสวนจะต้องรีบส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมทั้งพยานหลักฐานกับทั้งบันทึกการสืบสวนไปยังพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ

ในกรณีที่ผู้ทำการสืบสวนจับผู้ต้องหาได้ให้พนักงานสืบสวนรีบส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยบันทึกการสืบสวนซึ่งผู้บังคับบัญชาลงนามทราบแล้วไปยังพนักงานสอบสวนโดยด่วน

ตอนที่ 4 เทคนิคการสอบสวน

การสอบสวนคดีอาญานั้นจะต้องคำนึงถึงหลักการต่างๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้มีขั้นตอนดำเนินการคือ การเริ่มต้นการสอบสวน การดำเนินการสอบสวนและเมื่อทำการสอบสวนเสร็จแล้ว นอกจากนั้นยังมีการสอบสวนคดีอาญาบางประเภท ซึ่งเป็นการสอบสวนที่มีลักษณะพิเศษบางประการ

การเริ่มต้นการสอบสวน
ก่อนเริ่มต้นทำการสอบสวนนั้น ควรทราบหลักทั่วไปในการสอบสวนคือ เมื่อได้รับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษควรให้เขาเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วทำการสอบปากคำ และระหว่างทำการสอบสวน มีหลายสิ่งที่พนักงานสอบสวนควรระมัดระวัง

เมื่อผู้ร้องทุกข์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้วต่อมาภายหลังเขาต้องการแก้ไขคำร้องทุกข์เช่นนี้ถ้าข้าพเจ้าเป็นพนักงานสอบสวนจะต้องยอมให้เขาแก้คำร้องทุกข์ได้และจะแก้เมื่อไหร่ก็ได้

การดำเนินการสอบสวน
มีบางกรณีที่พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนหรือไม่ทำการสอบสวนก็ได้ การสอบสวนจะต้องมีการรวบรวมพยานหลักฐานหลายขั้นตอน นอกจากนั้นจะต้องมีการสอบปากคำผู้ต้องหาและพยาน

ในการถามปากคำผู้เสียหายหรือบุคคลที่เป็นพยานในคดีอาญานั้น กฎหมายมีข้อห้ามมิให้พนักงานสอบสวนกระทำการดังนี้
1. ตักเตือน
2. พูดให้ท้อใจ
3. ใช้กลอุบายอื่นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำ ฉันอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ

การดำเนินการเมื่อสอบสวนเสร็จแล้ว
เมื่อทำการสอบสวนเสร็จแล้ว พนักงานสอบสวนจะต้องทําบันทึกการสอบสวน ติดตามพยานไปให้การตามกำหนดนัดของศาล และจัดการสำนวนที่เสร็จแล้วโดยงดทำการสอบสวน ควรงดการสอบสวนหรือจะสั่งฟ้อง ไม่ฟ้อง เสนอพนักงานอัยการมีความเห็นต่อไป ทั้งนี้พนักงานอัยการมีอำนาจสั่งการใดๆก็ได้ซึ่งพนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติตาม

ในกรณีที่การสอบสวนเสร็จแล้วถ้าไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิดและความผิดนั้นมีอัตราโทษอย่างสูงเกินกว่า 3 ปีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการดังนี้
1. ส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการพร้อมทั้งความเห็นที่ควรให้งดการสอบสวน
2. ถ้าพนักงานอัยการสั่งให้งดหรือให้ทำการสอบสวนต่อไปพนักงานสอบสวนก็ต้องปฏิบัติไปตามนั้น

การสอบสวนคดีอาญาบางประเภท
การสอบสวนคดีอาญาบางประเภทนั้นแม้จะมีหลักและวิธีดำเนินการคล้ายกับการสอบสวนคดีอาญาทั่วไปก็ตาม แต่มีรายละเอียดที่ต้องปฏิบัติบางอย่างต่างกัน เช่น คดีความผิดต่อส่วนตัว หรือความผิดอันยอมความได้ คดีความผิดอาญาแผ่นดิน คดีความผิดต่อชีวิตและคดีความผิดที่เกิดนอกราชอาณาจหรือความผิดอันยอมความได้นั้น พนักงานควรสอบปากคำผู้มาร้องทุกข์ให้ได้ความก่อนว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดนั้นเมื่อไหร่และรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อไรเมื่อตรวจสอบว่าคดีขาดอายุความฟ้องร้องหรือไม่เพื่อตรวจสอบว่าคดีขาดอายุความฟ้องร้องหรือไม่